บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561
เวลา 11.30 - 14.30 น.
knowledge (ความรู้)
- นำเสนอความรู้ตามหัวข้อ ดังนี้
-ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย
-การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
-การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
-การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
-การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
พัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการ หมายถึง สิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งมีการพัฒนาที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องคล้ายกับขั้นบันได พัฒนาการนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
สภาพที่พึงประสงค์ คือ ความคาดหวังที่ต้องการให้เด็กสามารถทำได้
คุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย
กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐานประกอบด้วย
1. พัฒนาการด้านร่างกาย มี 2 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ มี 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม
3. พัฒนาการด้านสังคม มี 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา มี 4 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ข้อแตกต่างหลักสูตรเก่า 2546 หลักสูตรใหม่ 2560
- มีรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นทำให้ง่ายต่อการนำมาเขียนการจัดประสบการณ์
- เพิ่มเติมวิสัยทัศน์ ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
- เพิ่มเติมตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์รายอายุ"เพื่อให้มีเนื้อหาที่ชัดเจนขึ้น
ความสนใจของเด็กปฐมวัย
ความสนใจ และความต้องการมาพร้อมกับพัฒนาการ เมื่อถึงวัยที่เด็กต้องการทำสิ่งต่างๆนั้นเกิดขึ้นจากพัฒนาการที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเล่นเสรี
มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความสนใจในการอ่านและการเขียน
เพราะเด็กมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะเลือกทำกิจกรรมในมุมใด
ในแต่ละมุมจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมภาษา เช่น
มุมบ้าน >> ครูอาจเขียนตัวหนังสือบนสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน
มุมบล็อก >> หาสิ่งของที่มีตัวหนังสือมาประกอบการเล่นบล็อกและสร้างเรื่องราว
มุมวิทยาศาสตร์ >> ครูอาจเขียนบัตรคำบอกชื่อสิ่งต่างๆไว้
มุมห้องสมุด >> จัดให้มีบรรยากาศสบายๆ
มีมุมเขียนอยู่ใกล้ๆ
มุมคณิตศาสตร์ >> จัดให้มีตัวเลข
ตัวหนังสือที่ของเล่น เป็นต้น
การสอนเป็นหน่วยบูรณาการ
เพื่อให้ประสบการณ์ที่มีความหมายกับเด็ก
เพราะได้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตของพืชแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการเนื้อหาในหน่วยการเรียนประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
-การหาความรู้ เช่น
การเพาะถั่ว สังเกตการเจริญเติบโต วัดการเจริญเติบโตและบันทึก แกะเมล็ดในถั่วออก
มาดูและอภิปราย ศึกษาต้นไม้นอกสถานที่ ฯลฯ
-ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
เช่น อ่านหนังสือนิทานเรื่อง “หัวผักกาดยักษ์” แล้วเปรียบเทียบวิธีการปรุงหัวผักกาดเป็นอาหารแบบต่างๆ
ฯลฯ
-ดนตรีและจังหวะ เช่น
ร้องเพลงและแสดงท่าทางเกี่ยวกับพืช
-กิจกรรมศิลปะ เช่น
การปั้น การวาดเกี่ยวกับพืช
-กิจกรรมคณิตศาสตร์ เช่น
การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืช
ความต้องการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
ความต้องการทางด้านร่างกาย
-การกระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกาย
-การพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ประมาณ 10 – 12 ชั่ว โมง
-การช่วยเหลือตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร การใส่รองเท้า
ความต้องการทางอารมณ์
-ต้องการความรักและความใกล้ชิดผูกพันธ์
-ต้องการที่จะระบายอารมณ์อย่างอิสระและเปิดเผย
ความต้องการทางสังคม
-ต้องการเล่น การแสดงออกในสิ่งต่างๆให้เป็นที่ยอมรับ
-การเล่นแบบคู่ขนาน
-การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู
ความต้องการทางสติปัญญา
-ต้องการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดแก้ปัญหา
หรือสร้างจินตนาการ และการเล่นสมมติต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการตามธรรมชาติ
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฏีทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ อธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
กระบวนการที่เด็กสร้างโครงสร้างตามความคิด (Scheme)
ซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) >> ปรับโครงสร้างสติปัญญาหรือปรับโครงสร้างความรู้ใหม่ (Accommodation) >> (ความรู้ที่ได้รับไม่แสดงออกหรือไม่เกิดการเปลียนแปลง คือ เด็กเกิด "การรับรู้" แต่ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แสดงว่าเด็กเกิด "การเรียนรู้" >> เด็กเกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดในชีวิต
เพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาไว้ 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) อายุ 0-2 ปี
ขั้นนี้เป็นขั้นของการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส เช่น การมอง การดู การไขว่คว้า มีการพัฒนาการเรียนรู้ การกระทำจะทำอย่างมีจุดมุ่งหมายด้วยความอยากรู้อยากเห็น และเด็กยังสามารถเลียนแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแบบให้เห็นในขณะนั้นได้
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี
แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
2.1ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
2.2ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
2.2ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation)ได้
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่
เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อทสกี้(Vygotsky)
ไวก็อตสกี้เป็นนักจิตวิทยาชาวรัชเซีย ทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความ สำคัญของวัฒนธรรม สังคม และการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา ไวก็อตสกี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก สถาบันสังคมต่างๆ เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว จะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคล นอกจากนั้น ภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและพัฒนาปัญญาขั้นสูงด้วย
วีก็อตสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
1. เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือเชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2. เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือเชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรม เลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้โดยใช้ภาษา ไวก็อตสกี้ ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษาเป็น 3 ขั้น คือ
2.1 ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม (social speech) เป็นภาษาที่เด็กใช้ ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ในช่วงอายุ 0 - 3 ปี เพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกต่างๆที่ตนนั้นกำลังนึกคิด และต้องการที่จะแสดง ความต้องการอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองกับผู้อื่น
2.2 ภาษาที่พูดกับตนเอง 3 – 7 ขวบ (egocentric speech) เป็นภาษาที่เด็กใช้พูดกับตนเองในช่วงอายุ 3 -7 ปี โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เพื่อช่วยในการคิด ตัดสินใจแสดงพฤติกรรม
2.3 ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป (inner speech) ไวก๊อทสกี้อธิบายว่า มนุษย์ต้องใช้ภาษาในการคิด เด็กจะต้องพัฒนาภาษาในใจ ซึ่งเป็นการช่วยให้พัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาสูงขึ้นตามระดับอายุ เมื่อเด็กพบปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้น เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาไปตามขั้นตอนโดยใช้ภาษาภายในตนเอง
1. เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือเชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2. เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือเชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรม เลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้โดยใช้ภาษา ไวก็อตสกี้ ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษาเป็น 3 ขั้น คือ
2.1 ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม (social speech) เป็นภาษาที่เด็กใช้ ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ในช่วงอายุ 0 - 3 ปี เพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกต่างๆที่ตนนั้นกำลังนึกคิด และต้องการที่จะแสดง ความต้องการอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองกับผู้อื่น
2.2 ภาษาที่พูดกับตนเอง 3 – 7 ขวบ (egocentric speech) เป็นภาษาที่เด็กใช้พูดกับตนเองในช่วงอายุ 3 -7 ปี โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เพื่อช่วยในการคิด ตัดสินใจแสดงพฤติกรรม
2.3 ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป (inner speech) ไวก๊อทสกี้อธิบายว่า มนุษย์ต้องใช้ภาษาในการคิด เด็กจะต้องพัฒนาภาษาในใจ ซึ่งเป็นการช่วยให้พัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาสูงขึ้นตามระดับอายุ เมื่อเด็กพบปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้น เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาไปตามขั้นตอนโดยใช้ภาษาภายในตนเอง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์(Bruner)
บรุนเนอร์ (Bruner) เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
วิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจที่อยากเรียนเมื่อเลือกแล้ว ทำร่องรอยการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การถามประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน / คำถามที่เด็กอยากรู้ และค้นคว้่หาคำตอบ เช่น การไปสืบค้นห้องสมุด การไปทัศนศึกษา / ให้เด็กวาดภาพเชื่อมโยงประสบการณ์
ระยะที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ ค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน อาจมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่เด็ก
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ เด็กนำเสนอความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยเชิญผู้ปกครองและเด็กห้องอื่นๆมาเป็นผู้รับชมการนำเสนอ
ตัวอย่างการเรียน โปรเจกต์ กุ้ง
โรงเรียนเกษมพิทยา
ชั้นอนุบาล 2/2
ประโยชน์จากการสอนแบบโครงการ
1. เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
2. ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
3. เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเอง
4. เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับ ในความต้องการของเด็ก
คำศัพท์ (VOCAB)
Conservation >> การอนุรักษ์
Assimilation >> การดูดซึม
Accommodation>> การปรับสมดุล
Accommodation >> การปรับและจัดระบบ
Accommodation >> การปรับและจัดระบบ
Reversibility >> การคิดย้อนกลับ
Discovery learning >> กระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง
Project Approach >> การสอนแบบโครงการ
Differences >> ความแตกต่าง
Sensori >> ประสาทสัมผัส
Differences >> ความแตกต่าง
Differences >> ความแตกต่าง
Application (การประยุกต์ใช้)
-ได้ทบทวนความรู้พื้นฐานของเด็กปฐมวัย เพื่อนำไปปรับใช้จัดประสบการณ์ได้เหมาะสม ทั้งแนวคิดทฤษฏีที่สามารถนำมาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้
Evaluation (การประเมิน)
Teacher (อาจารย์)
-มาสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ
Self (ตนเอง)
-แต่งกายเรียนร้อย มาเรียนตรงเวลา มีการตอบคำถามบ้างบางครั้ง
Friends (เพื่อน)
-เพื่อนตั้งใจเรียน ร่วมกันทบทวนความรู้และตอบคำถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น